เมนู

ชนเหล่าใดเป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ
และข้าวอันสะอาดประณีตเป็นของควรตามกาลอย่างนี้.

เมื่อทรงแสดงประการที่ทานซึ่งให้แล้ว เป็นอันให้เพื่อญาติเหล่านั้นอีก จึง
ตรัสกิ่งต้นแห่งคาถาที่ 4 ว่า อทํ โว ญาตีนํ โหตุ เป็นต้น . พึงสัมพันธ์
ความกับกึ่งต้นของคาถาที่ 3 ว่า
ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ
และข้าวอย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย
ขอญาติทั้งหลาย จงประสบสุขเกิด.

ด้วยเหตุนั้น ตัวอย่างอาการที่พึงให้เป็นอันทรงทำแล้ว ด้วย เอวํ ศัพท์ ที่มี
อรรถว่าอาการในคำนี้ว่า ชนเหล่านั้น ย่อมให้โดยอาการอย่างนี้ว่า ขอทานนี้
แลจงมีแก่ญาติทั้งหลาย ไม่ใช่โดยอาการอย่างอื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ. เป็นบทแสดงตัวอย่างไทยธรรม.
บทว่า โว เป็นเพียงนิบาตอย่างเดียว ไม่ใช่ฉัฏฐีวิภัตติ เหมือนในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา สมฺโมทมานา.
และว่า เยหิ โว อริยา. บทว่า ญาตีนํ โหตุ ความว่า จงมีแก่ญาติ
ทั้งหลายที่เกิดขึ้นปิตติวิสัย. บทว่า สุขิตา โหนฺติ ญาตโย ความว่า ขอ
พวกญาติที่เข้าถึงปิตติวิสัยเหล่านั้น จงเป็นผู้เสวยผลทานนี้ มีความสุขเถิด.

พรรณนาตอนปลายของคาถาที่ 4


สัมพันธ์กับตอนต้นของคาถาที่ 5


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงประการที่ทานอันญาติ พึงให้แก่
ญาติทั้งหลายที่เข้าถึงปิตติวิสัยจึงตรัสว่า ขอทานนี้แลจงมีแก่ญาติทั้งหลาย ขอ
ญาติทั้งหลายจงประสบสุขดังนี้ เพราะเหตุที่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอ